การบริหารความเสี่ยง

ารบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการบริการที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลารวมทั้งเป็นต้องการที่เรียกว่าimplicitneedของผู้ป่วยด้วยเขาเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อการรักษาโดยมิทันฉุกคิดว่าอาจจะมีความเสี่ยงมากมายเกิดขึ้นระหว่าง กระบวนการรักษาเหล่านั้น หลายปีที่ผ่านมาบุคลากรหรือหน่วยงานมักพูดคุยกันเกี่ยวกับเหตุร้ายที่เกิดกับผู้ป่วยแต่ไม่มีการจดบันทึกไม่มีการนำบันทึกนั้นมาใช้หรือแม้กระทั่งไม่สามารถสร้สงวัฒนธรรมพูดคุยกันระหว่างหน่วยงานหรือระหว่างวิชาชีพในการที่จะป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายนั้นซ้ำอีกระบบบริหารความเสี่ยงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมการเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพจึงสามารถเอื้อให้เกิดการรายงาน การจดบันทึก การพบปะพูดคุย การนำบันทึกนั้นไปใช้ แม้ว่าอาจจะสร้างความลำบากใจให้กับบุคลากร ที่ปฏิบัติการผิดพลาดอยู่บ้างในระยะแรก แต่ระลึกไว้ว่าการถูกตักเตือนจากเพื่อนร่วมงานนั้นดีกว่าการถูกตักเตือนจากคนภายนอกมากมายนักยิ่งไปกว่านั้นเมื่อระบบเดิแล้วจะพบว่ามีความผิดพลาดจำนวนหนึ่งที่มิได้เกิดจากบุคลากรคนใดเลยแต่เกิดจากระบบงานและโครงสร้างที่ยุ่งยากซับซ้อนมากเกินไป การพิทักษ์สิทธิ ความเชื่อและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เรื่องนี้ก็ไม่ใช่นามธรรมแต่เป็นหัวข้อที่ควรพูดคุยและนิยามเพื่อใช้สื่อสารกับบุคลากรทั้งโรงพยาบาลให้เข้าใจตรงกัน สิทธิผู้ป่วยทั้งสิบข้อตามประกาศเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ ทำให้ง่าย และรณรงค์ให้ผู้ป่วยใช้สิทธิ หากผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิของตนเองได้เหมาะสม จะช่วยผู้บริหารได้หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความพึงพอใจในบริการอย่างไรก็ตาม การคืนสิทธิให้กับผู้ป่วยยังเป็นเรื่องของวัฒนธรรมขององค์กรนั่นคือต้องมีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรเช่น หากรณรงค์ให้ผู้ป่วยรู้จักถามแพทย์หรือพยาบาลเกี่ยวกับการวินิจฉัย การตรวจค้น การผ่าตัดก็ควรเตรียมแพทย์และพยาบาลหน่วยนั้นๆ ให้พร้อมมีที่จะตอบ มิใช่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ผู้ป่วยถามแต่ได้รับการตอบโต้ด้วยทีท่าไม่เหมาะสม เป็นต้น หากเราคืนสิทธิให้กับผู้ป่วยด้วยกัลยาณมิตรที่เหมาะสม เราคาดหวังว่าผู้ป่วยและสังคม จะมีน้ำใจไมตรีต่อการทำงานของโรงพยาบาลเช่นเดียวกัน ความเชื่อของผู้ป่วยมักเกี่ยว ข้องกับองค์ประกอบทางจิตวิญญาณ อันเป็นหนึ่งในสี่ขององค์รวมที่เรียกกันคล่องปาก ว่า กาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางจิตวิญญาณเพราะสิ่งที่ ผู้ป่วยมักกลัวมากคือ ความเจ็บปวดและความตาย ทั้งสองสิ่งเป็นต้นเหตุให้ผู้ป่วยไม่มั่น คงใน"ตัวตน"ที่ตนเองมีอยู่ นำมาซึ่งความทุกข์ยากทางใจมากกว่าที่ควรจะเป็นความเชื่อเป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่อาจมองข้ามความเชื่อใดที่ไม่ขัดแย้งกับการแพทย์มากเกินไปแบะเป็นไปเพื่อความสงบทางใจของผู้ป่วยก็ควรได้รับการผ่อนผันหรือแม้กระทั่งส่งเสริมเพราะเราคงต้องยอมรับว่ามีโรคจำนวนมากที่การแพทย์ มิสามารถทำให้ cure ได้ ทำได้เพียง remissionเท่านั้น ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ อาจจะเป็นเรื่องเดียวที่มีความเป็นนามธรรมมากๆ แต่เราควรนิยามเอาไว้บ้างเพื่อปิด โอกาสให้บุคลากรจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่เข้าใจ HAพอมีทางเข้าใจและมาช่วยเหลือกัน ลองคิดดูว่าเราเองรู้สึกเสียศักดิ์ศรีเมื่อใด คนจำนวนหนึ่งจะตอบว่าเขารู้สึกเสียศักดิ์ศรี เสียเกียรติ เสียหน้า แล้วแต่จะเรียกหาว่าอย่างไรเมื่อมีคนอื่นรู้ว่าเขาป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือเรื้อรัง ซึ่งเป็นการประกาศเป็นนัยว่านับจากนี้ไปประสิทธิภาพในการงานและ สังคมของเขาจะเสื่อมลง คนทุกคนจะรู้สึกไม่ดี อย่างมากเมื่อถูกเปลือยกายในที่สาธารณะ นั่นคือถูกตรวจหรือถูกแตะต้องของสงวนที่ไม่เป็นสัดส่วนเพียงพอหากโรงพยาบาลจะจัดระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลผู้ป่วยและป้องกันการตรวจร่างกายหรือการตรวจค้นที่ประเจิดประเจ้อ